วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

งานบำเพ็ญกุศลศพ





             การบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศส่วนบุญไปให้ผู้วายชนม์เป็นสิ่งที่ชาวพุทธได้ถือปฏิบัติกันมายาวนานโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานศพ เช่น เ พื่อเป็นการรวมญาติ ประกาศเกียรติคุณ (ของผู้วายชนม์) ค้ำจุนพระพุทธศาสนา สร้างบารมีให้กับตนเอง  ส่วนขั้นตอนการเตรียมการก่อนมีพิธีบำเพ็ญกุศลนั้น เมื่อมีบุคคลในครอบครัวล้มหายตายจากไปญาติ ๆ    ก็จะต้องแจ้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนเพื่อขอรับใบมรณบัตรและใบรับรองแพทย์   (กรณีที่ต้องให้แพทย์ชันสูตรศพ) จากนั้นจึงค่อยนำศพไปทำพิธีอาบน้ำศพ รดน้ำศพ บรรจุศพลงในหีบโลง      เป็นต้น  เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงไปติดกับวัดใกล้บ้านที่จะไปตั้งศพบำเพ็ญกุศลหรือจะตั้งศพประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลที่บ้านก็ได้ตามประเพณีนิยมต่อไป
            เมื่อถึงเวลาที่จะต้องดำเนินพิธีทางศาสนา บุคคลที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ พิธีกรหรือมัคคนายก ที่จะเป็นคนเชื่อมโยงประสานขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ นำไหว้พระ สมาทานศีล อาราธนาธรรม อุทิศส่วนกุศล กรวดน้ำ และรับพรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยจนจบภารกิจ สมความมุ่งหมายของเจ้าของงาน ในที่นี้จึงขอนำเสนอ บทพิธีกร งานบำเพ็ญกุศลศพพอเป็นแนวทางการปฏิบัติให้แก่ผู้สนใจที่จะเป็นพิธีกร หรือผู้ประสงค์ต้องการทราบขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนจบพิธี           
  

บทพิธีกร งานบำเพ็ญกุศลศพ
โดย
พันตรี ภูวดล  คำบุดดา
อนุศาสนาจารย์ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๔
............................

กราบนมัสการ ... พระคุณเจ้าที่เคารพ
เรียน ...ท่านประธาน และผู้ร่วมพิธีทุกท่าน
            การสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลศพของ ........(ชื่อผู้วายชนม์) ........สกุล ................
อายุ ..........ปี / ได้ดำเนินพิธีการมาตั้งแต่วันที่ ......... / ....... / ........ ในวันนี้เป็นคืนที่ .............
ตระกูล ............................ ได้รับเกียรติจากท่านที่กรุณารับเป็นเจ้าภาพ จำนวน ............คณะ

            คณะที่ ๑  (ชื่อ สกุล) ........................................................................................
            คณะที่ ๒ (ชื่อ สกุล) ........................................................................................
            คณะที่ ๓ (ชื่อ สกุล) ........................................................................................
            คณะที่ ๔ (ชื่อ สกุล) ........................................................................................
            คณะที่ ๕ (ชื่อ สกุล) ........................................................................................
พร้อมด้วยผู้มีเกียรติร่วมเป็นเจ้าภาพ / โดยมี ............(ชื่อ สกุล) ............................ตำแหน่ง                                       ....................................กรุณาให้เกียรติเป็นประธานในพิธี




     (ลำดับพิธี)

            ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ / ก่อนเข้าสู่พิธีการบำเพ็ญกุศล / กระผม ......(ชื่อ ) .............
ตำแหน่ง .........................................(ถ้ามี) ได้รับเกียรติจากคณะเจ้าภาพให้ทำหน้าที่เป็นพิธีกร 
ดำเนินพิธีทางศาสนา   /   ขออนุญาตนำเรียนลำดับพิธี  /    เพื่อกรุณาทราบขั้นตอนการปฏิบัติโดย
สังเขป ดังนี้
            เมื่อพระสงฆ์พร้อมบนอาสน์สงฆ์ / ผู้ร่วมพิธีพร้อมแล้ว / ในเบื้องต้นจะขออนุญาตเรียน
เชิญท่านผู้มีเกียรติจำนวน ........... ท่านดำเนินพิธีการ
๑.     (ชื่อ สกุล ) ...........................................................................................................
ตำแหน่ง ........................................จุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัยที่โต๊ะหมู่บูชา
๒.     (ชื่อ สกุล ..............................................................................................................
ตำแหน่ง ...................................................จุดธูป เทียนบูชาธรรมที่ตู้พระธรรม

๓.     (ชื่อ สกุล ) ...........................................................................................................
ตำแหน่ง .................................................จุดเทียนส่องธรรมที่ธรรมมาสน์ (ถ้ามี)
๔.     (ชื่อ สกุล) ............................................................................................................
ตำแหน่ง ..........................................................จุดธูปเคารพศพด้านหน้าหีบศพ

บัดนี้  พระสงฆ์จำนวน ..........รูป จากวัด ............. (ชื่อวัด)............โดยมีพระ......
..(ชื่อ) ...... เป็นประธานสงฆ์ / พร้อมบนอาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว / ในโอกาสนี้ กระผมขออนุญาต
เรียนเชิญ
๑.     (ชื่อ สกุล ) ...........................................................................................................
ตำแหน่ง .........................................จุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัยที่โต๊ะหมู่บูชา
๒.     (ชื่อ สกุล ..............................................................................................................
ตำแหน่ง ....................................................จุดธูป เทียนบูชาธรรมที่ตู้พระธรรม
๓.     (ชื่อ สกุล ) ............................................................................................................
ตำแหน่ง ...................................................จุดเทียนส่องธรรมที่ธรรมมาสน์ (ถ้ามี)
๔.     (ชื่อ สกุล) .............................................................................................................
ตำแหน่ง .................................................................................จุดธูปเคารพศพ










 





             

           
            ( กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย )

                                            อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา 
                พุทธัง ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ ฯ
                                             สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม     
                         ธัมมัง  นะมัสสามี ฯ
                                   สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ      
                          สังฆัง  นะมามิ  ฯ  


( คำอาราธนาศีล )

         มะยัง ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขนัตถายะ,
                       ติสะระเณนะ สะหะ , ปัญจะ  สีลานิ ยาจามะฯ                                    ทุติยัมปิ   มะยัง ภันเต,  วิสุง  วิสุง  รักขนัตถายะ,
                    ติสะระเณนะ สะหะ , ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ  ฯ
                         ตะติยัมปิ  มะยัง ภันเต , วิสุง  วิสุง รักขนัตถายะ ,
                                         ติสะระเณนะ  สะหะ , ปัญจะ สีลานิ  ยาจามะ ฯ

                        
                          ( ศีล  ๕ )

         ๑.ปาณาติปาตา   เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                           ๒.อะทินนาทานา   เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                                ๓.กาเมสุ  มิจฉาจารา   เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
               ๔.มุสาวาทา   เวระมะณีสิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                        ๕.สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา  เวระมะณีสิกขาปะทัง  
      สมาทิยามิ ฯ

                                    
                             ( คำอาราธนาธรรม )

                     พ์รัมห์มา  จะ โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ
                                         กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ
                                 สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา
                                                     เทเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชัง ฯ



                              


    







     ( พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ )


     
                                          -ลาดผ้าภูษาโยง ( หรือด้ายสายสิญจน์ )
                                       -เชิญผู้ร่วมพิธีทอดผ้าบังสุกุล 
                                       -พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
                             (ถ้าไม่มีผ้าบังสุกุลจับเฉพาะด้ายสายสิญจน์)
                            -เก็บผ้าภูษาโยง (หรือด้ายสายสิญจน์
                            -เทียบเครื่องไทยธรรม

                                      

                 คำกล่าวอุทิศส่วนบุญกุศล            
                                    
     ขอเรียนเชิญผู้ร่วมพิธี / สำรวมกาย วาจา และน้อมจิตอุทิศส่วนบุญกุศล
ไปถึงผู้วายชนม์  (ตั้ง นะโม ๓ จบ ) โดยพร้อมเพียงกัน

                          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
                          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ
                          นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

                  ภันเต  ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ / ข้าพเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมถวายกัปปิยะภัณฑ์
 / กับทั้งของบริวารเหล่านี้ / แด่พระคุณเจ้า / เพื่อใช้แทนปัจจัย ๔ / หากพระคุณเจ้าประสงค์
สิ่งใด / อันสมควรแก่สมณบริโภคแล้ว /  ขอจงเรียกใช้ปัจจัยนี้ตามที่เห็นสมควร / ขอกุศลผล
บุญ / ทักษิณานุปทาน / ที่คณะเจ้าภาพอันประกอบด้วย  /   ( บิดา มารดา   ภรรยา สามี 
 บุตร ธิดา และญาติมิตร ) น้อมอุทิศไปให้ในครั้งนี้ / ขอจงเป็นพะละวะปัจจัย /  หนุนนำส่ง
ดวงจิตวิญญาณ / ของ ................(ชื่อผู้วายชนม์) ............หากท่านตกทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ 
/ หากท่านเสวยสุขอยู่แล้ว / ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป  /
                   อนึ่ง       ขอผลบุญที่ได้ร่วมกันบำเพ็ญนี้ / จงเป็นปฏิพรย้อนตอบ /ให้ข้าพเจ้าทั้ง
หลาย / ประสบกับอิฏฐผลอันน่าปรารถนา / จงทุกประการเทอญ ฯ




                      เรียนเชิญผู้มีเกียรติถวายเครื่องไทยธรรม 

                    ๑.................................................................................................................................
ตำแหน่ง ......................................................................................................................
๒.................................................................................................................................
ตำแหน่ง ......................................................................................................................
๓.................................................................................................................................
ตำแหน่ง.......................................................................................................................
๔.................................................................................................................................
ตำแหน่ง ......................................................................................................................
.................................................................................................................................... 
....................................................................................................................................
....................................................................................................................................

หมายเหตุ ..หากมีพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาให้เรียนเชิญผู้ที่เป็นเจ้า
                      ของกัณฑ์เทศน์ถวายกัณฑ์เทศน์แด่พระสงฆ์ด้วย

                              

                 -  พระสงฆ์อนุโมทนา  ( ยะถา วาริวะหา  ฯลฯ )
                 -   ประธาน กรวดน้ำ / ผู้ร่วมพิธีประนมมือรับพร
                 -   เรียนเชิญเจ้าภาพกล่าวขอบคุณผู้มาร่วมพิธี
                  - กราบพระรัตนตรัย
                  - เสร็จพิธี




                 
             จะหนีอื่นหมื่นแสนในแดนโลก
                 พอย้ายโยกหลีกลี้หนีไปได้
              แต่หนีหนึ่งซึ่งมาชื่อคือความตาย
                 หนีไม่ได้ไปไม่พ้นสักคนเอย
                                          
                                                   








                   

                                                                                                   
                                                                                                  พันตรี ภูวดล คำบุดดา
                                                                                                           กันยายน ๕๗
          






20 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาชม ครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณผู้ให้ความรู้ เพิ่งรู้แจ้งตายแล้วทำอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณผู้ให้ความรู้ เพิ่งรู้แจ้งตายแล้วทำอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับ ดีมากครับขอเก็บเป็นความรู้เผือไว้ใช้เป็นแนวทางต่อไป

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งภาควิชาการ และวิธีการผมเขียนไว้ในหนังสือ " บทพิธีกรงานศพ " แล้วครับ หากต้องการเป็นเจ้าของหนังสือเล่มละ 100 บาท (พิมพ์ 4 สี ) ติดต่อ โทร 0937693702

      ลบ
    2. ขอบคุณครับ รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งภาควิชาการ และวิธีการผมเขียนไว้ในหนังสือ " บทพิธีกรงานศพ " แล้วครับ หากต้องการเป็นเจ้าของหนังสือเล่มละ 100 บาท (พิมพ์ 4 สี ) ติดต่อ โทร 0937693702

      ลบ
  5. เรื่องศาสนพิธีมีรายละเอียดของการปฏิบัติมาก พิธีทางการ พิธีทางบ้าน แตกต่างกันออกไป ที่นำเสนอนี้เป็นเพียงแนวทางที่เคยปฏิบัติมาและงานสำเร็จเรียบร้อยดีครับ ท่านที่นำไปใช้ก็ปรับตามความเหมาะสมครับ

    ตอบลบ
  6. ขอขอบคุณท่านครับ

    ตอบลบ
  7. การฟังพระสวดมาติการบังสุกุลควรประนมหรือไม่ เพราะไม่มีใครกำหนดไว้ชัดเจน ทำให้พี่น้องชาวพุทธเกิดความสับสน มองซ้ามองขวาทางไหนมากทำตามครับ

    ตอบลบ
  8. การฟังพระสวดมาติการบังสุกุลควรประนมหรือไม่ เพราะไม่มีใครกำหนดไว้ชัดเจน ทำให้พี่น้องชาวพุทธเกิดความสับสน มองซ้ามองขวาทางไหนมากทำตามครับ

    ตอบลบ
  9. เรียนคุณยุทธนา ครับ
    กระทู้ที่ท่านนำเสนอเป็นเรื่องที่ปรากฏขึ้นจริงในทางการปฏิบัติ แต่หากได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง สมเหตุสมผลก็สามารถสร้างความเข้าใจกันได้ครับ หลักเกณฑ์ที่เราต้องทำความเข้าใจมีอยู่ 2 ประการคือ

    ๑) เวลาพระสวดบท "อนิจจา" ในขั้นตอนพิจารณาผ้าบังสุกุล พระท่านสวดเพื่อให้คนเป็นฟังหรือให้คนตายฟัง (คนตายคงฟังไม่ได้เพราะโสตประสาทไม่รับรู้อะไรแล้ว) จึงเป็นเรื่องของคนเป็นต้องฟังกัน

    ๒) บทที่พระสวด อนิจจา วะตะ สังขารา ฯลฯ เป็นธรรมะว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังขารจึงเป็นธรรมะที่พระท่านสวดเพื่อสอนคนเป็น ไม่ใช่สอนคนตาย ดังนั้น เมื่อพระท่านเจตนาสอนคนเป็นจึงสมควรที่คนฟัง (ธรรมะ) ควรประนมมือ (เพราะพระท่านไม่ได้สวดให้คนตายฟัง แต่สวดเพื่อให้คติกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่

    สรุป ...เวลาพระสวดพิจารณาผ้าบังสุกุลคนที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ร่วมในพิธีต้องประนมมือ (เพื่อเป็นการเคารพธรรมะ เป็น ธรรมคารวตา) ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ชัดเจนมากครับ ขอขอบคุณที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทานครับ

      ลบ
  10. ขอบคุณครับสำหรับพิธีการทางศาสนา เป็นความรู้ที่ดีและนำไปใช้ได้ครับ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณครับ. สำหรับข้อมูลดีๆ พิธีกรมือใหม่ครับ

    ตอบลบ
  12. ขอบคุณนะครับ ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำพิธีกรทางศาสนาในเรื่องนี้

    ตอบลบ
  13. ดีมากครับ ผมสึกมานาน เป็นการทวน ศาสนพิธี
    ปรับใช้ตามบริบทชุมชน ได้ดีมาก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ด้วยความยินดี และอนุโมทนาครับ

      ลบ
  14. ได้สาระความรู้ดีครับ​ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  15. ขอขอบคุณ สำหรับการแนะนำในการวิธีการและขั้นตอน การบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศส่วนบุญไปให้ผู้วายชนม์ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  16. ขอขอบคุณ สำหรับการแนะนำในการพิธีการและขั้นตอน ค่ะ

    ตอบลบ