๑.จุดมุ่งหมาย
ศพที่สามารถขอพระราชทานเพลิงศพเพื่อเป็นเกียรติยศครั้งสุดท้ายในชีวิต เจ้าภาพหรือทายาทจะต้องทำหนังสือแสดงความจำนงขอพระราชทานเพลิงศพ ไปทางกระทรวงสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม โดยระบุว่าถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร เมื่อใดจะประกอบพิธี
ฌาปนกิจศพที่ไหน วันและเวลาใด
ถ้าเป็นศพที่อยู่ต่างจังหวัด เจ้าภาพมีหนังสือแสดงความจำนงไปทางสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม เช่น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้บังคับการจังหวัดทหารบก ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หรือแม่ทัพภาพ และทางจังหวัดก็คือผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อหน่วยต้นสังกัด ได้รับแจ้งความจำนงแล้วจะมีหนังสือแจ้งความจำนงไปยังสำนักพระราชวังต่อไป
หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเพลิงศพ สำนักพระราชวัง
จะได้มีหมายรับสั่งแจ้งเจ้าภาพเพื่อทราบ จากนั้นเจ้าภาพจัดเจ้าหน้าที่ไปรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง อัญเชิญไปตั้งไว้ที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หน่วยราชการที่สังกัดหรือที่บ้านของเจ้าภาพแล้วแต่กรณี เมื่อถึงกำหนดวันพิธีจะต้องจัดเจ้าหน้าที่อัญเชิญไปยังเมรุที่จะประกอบพิธีต่อไป ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานน้ำหลวง เพลิงหลวง และหีบเพลิง ต้องมีตำแหน่งและยศ ดังต่อไปนี้
ศพที่สามารถขอพระราชทานเพลิงศพเพื่อเป็นเกียรติยศครั้งสุดท้ายในชีวิต เจ้าภาพหรือทายาทจะต้องทำหนังสือแสดงความจำนงขอพระราชทานเพลิงศพ ไปทางกระทรวงสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม โดยระบุว่าถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร เมื่อใดจะประกอบพิธี
ฌาปนกิจศพที่ไหน วันและเวลาใด
ถ้าเป็นศพที่อยู่ต่างจังหวัด เจ้าภาพมีหนังสือแสดงความจำนงไปทางสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม เช่น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้บังคับการจังหวัดทหารบก ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก หรือแม่ทัพภาพ และทางจังหวัดก็คือผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อหน่วยต้นสังกัด ได้รับแจ้งความจำนงแล้วจะมีหนังสือแจ้งความจำนงไปยังสำนักพระราชวังต่อไป
หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเพลิงศพ สำนักพระราชวัง
จะได้มีหมายรับสั่งแจ้งเจ้าภาพเพื่อทราบ จากนั้นเจ้าภาพจัดเจ้าหน้าที่ไปรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง อัญเชิญไปตั้งไว้ที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หน่วยราชการที่สังกัดหรือที่บ้านของเจ้าภาพแล้วแต่กรณี เมื่อถึงกำหนดวันพิธีจะต้องจัดเจ้าหน้าที่อัญเชิญไปยังเมรุที่จะประกอบพิธีต่อไป ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานน้ำหลวง เพลิงหลวง และหีบเพลิง ต้องมีตำแหน่งและยศ ดังต่อไปนี้
๑.พระสมณศักดิ์ ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป ๒.พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น
“หม่อมเจ้า” ขึ้นไป ๓.ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ๔.รองเสวกตรี ขึ้นไป ๕.รองอำมาตย์ตรี ขึ้นไป ๖.ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี ขึ้นไป ๗.ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป ๘.พนักงานเทศบาลตรี ขึ้นไป ๙.ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ “เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย”
บ.ม. ขึ้นไป
๑๐.ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
“จุลจอมเกล้า” (จ.จ.) หรือ “ตราสืบตระกูล” ขึ้นไป
๑๑.ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญ
“รัตนาภรณ์” รัชกาลปัจจุบัน
๑๒.สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาจังหวัด
สมาชิกสภาเทศบาลที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง ๑๓.รัฐมนตรีถึงแก่กรรมขณะดำรงตำแหน่ง ๑๔.ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นกรณีพิเศษ
หมายเหตุ พระสมณศักดิ์ พระราชวงศ์ ข้าราชการ
ถ้าทำลายชีพตนเองไม่พระราชทานเพลิงและเครื่องประกอบเกียรติยศ
เพลิงหลวงที่พระราชทานไปเผาศพนั้นมี ๒ แบบคือ
๑. ในเขตกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียงที่มีระยะทางไม่เกิน ๕๐ กิโลเมตร
สำนักกระราชวังจะจัดส่งเจ้าหน้าที่อัญเชิญเพลิงหลวงพร้อมเครื่องขมาศพไปประกอบพิธี
เพลิงหลวงประกอบด้วย
๑.๑ โคมไฟหลวง
๑.๒ กระทงข้าวตอก ดอกไม้สดขมาศพ อย่างละ ๑ กระทง
๑.๑ โคมไฟหลวง
๑.๒ กระทงข้าวตอก ดอกไม้สดขมาศพ อย่างละ ๑ กระทง
๑.๓ ดอกไม้จันทน์ ๑ ช่อ
๒. ในพื้นที่ต่างจังหวัด
จะพระราชทานเป็นหีบเพลิง เจ้าภาพจัดเจ้าหน้าที่ไปรับมาดำเนินการ
หีบเพลิงพระราชทานประกอบด้วย
๒.๑ ธูปไม้ระกำ ๒ ดอก
๒.๒ เทียน ๒ เล่ม > บรรจุในหีบ (กล่อง) มีถึงแพรต่วน
๒.๓ ดอกไม้จันทน์ ๑ ช่อ สีดำหุ้มห่อ
๒.๑ ธูปไม้ระกำ ๒ ดอก
๒.๒ เทียน ๒ เล่ม > บรรจุในหีบ (กล่อง) มีถึงแพรต่วน
๒.๓ ดอกไม้จันทน์ ๑ ช่อ สีดำหุ้มห่อ
๒.๔ ไม้ขีดไฟ ๑ กลัก
ทั้ง ๒ แบบนี้เจ้าภาพจะต้องเชิญบุคคลเป็นประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพแทน
ส่วนศพที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จพระราชดำเนิน การพระราชทานเพลิงจะมี ๒
แบบ คือ
๑. ถ้าเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเมรุ
การสวดมาติกาและบังสุกุลก่อนพระราชทาน
เพลิง จะทำบนพลับพลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดผ้าไตรบังสุกุล พระสงฆ์สดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เมื่อพระสงฆ์ลงจากพลับพลาแล้ว พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จขึ้นเมรุ ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ
เพลิง จะทำบนพลับพลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดผ้าไตรบังสุกุล พระสงฆ์สดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เมื่อพระสงฆ์ลงจากพลับพลาแล้ว พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จขึ้นเมรุ ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ
๒. ถ้าพระราชทานเพลิงศพโดยทรงจุดฝักแค จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตรให้ผู้สืบสกุล
หรือทายาทไปทอดบนเมรุ โดยเจ้าพนักงานเชิญผ้าไตร
ไปพร้อมกับทายาท ถวายคำนับแล้วทอดผ้าไตร
เมื่อพระสงฆ์บังสุกุลเสร็จแล้ว ทายาทลงจากเมรุไปถวายคำนับหน้าที่ประทับ
และเจ้าพนักงานจะเชิญพานเครื่องขมาศพไปวางที่หน้าศพ ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดฝักแคพระราชทานเพลิงศพตามลำดับ
ไปพร้อมกับทายาท ถวายคำนับแล้วทอดผ้าไตร
เมื่อพระสงฆ์บังสุกุลเสร็จแล้ว ทายาทลงจากเมรุไปถวายคำนับหน้าที่ประทับ
และเจ้าพนักงานจะเชิญพานเครื่องขมาศพไปวางที่หน้าศพ ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดฝักแคพระราชทานเพลิงศพตามลำดับ
๒. การเตรียมการปฏิบัติสำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพ
๒.๑
เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปตั้ง ณ ส่วนราชการในพื้นที่ หรือที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ โดยตั้งไว้ในที่อันควร และมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้นด้วย
(นิยมจัดโต๊ะหมู่ ตั้งหีบเพลิง ตั้งพานพุ่มทองเงิน ๑ คู่ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์)
(นิยมจัดโต๊ะหมู่ ตั้งหีบเพลิง ตั้งพานพุ่มทองเงิน ๑ คู่ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์)
๒.๒
จัดบุคคลที่รับราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ เป็นผู้อัญเชิญเพลิงพระราชทานไปประกอบพิธี
(เชิญด้วยพานรองรับ หนึ่งหีบเพลิงต่อหนึ่งคน)
๒.๓
เจ้าภาพจัดโต๊ะปูผ้าขาว สำหรับตั้งหีบเพลิงพระราชทานบนเมรุ ทางด้านศีรษะของศพ
และห้ามนำสิ่งอื่นใดวางร่วมด้วยเป็นอันขาด
๒.๔ ศพที่ประกอบพิธีพระราชทานเพลิง
ไม่ควรจัดดอกไม้วางประดับบนฝาหีบศพ เพราะเป็นหีบศพเกียรติยศอยู่แล้ว
๒.๕ เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกผู้มีอาวุโสสูงสุด
ในที่นั้นเป็นประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิง
๒.๖ การปฏิบัติของผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทาน
๑. ขณะที่เชิญพานหีบเพลิง ต้องระมัดระวังกิริยา ไม่พูดคุยไม่ทำความเคารพ และไม่เชิญหีบเพลิงเดินตามหลังผู้ใดเป็นอันขาด
๒. เมื่อเชิญหีบเพลิงพระราชทานวางเรียบร้อยแล้ว ทำความเคารพ ๑ ครั้ง
แล้วเดินลงจากเมรุไปนั่ง ณ ที่กำหนด
๓. ขณะที่ประธานพิธีเดินขึ้นเมรุเพื่อทอดผ้าบังสุกุล ให้ผู้เชิญเพลิงเดิน
ขึ้นไปรอบนเมรุ
๒.๕ เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกผู้มีอาวุโสสูงสุด
ในที่นั้นเป็นประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิง
๒.๖ การปฏิบัติของผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทาน
๑. ขณะที่เชิญพานหีบเพลิง ต้องระมัดระวังกิริยา ไม่พูดคุยไม่ทำความเคารพ และไม่เชิญหีบเพลิงเดินตามหลังผู้ใดเป็นอันขาด
๒. เมื่อเชิญหีบเพลิงพระราชทานวางเรียบร้อยแล้ว ทำความเคารพ ๑ ครั้ง
แล้วเดินลงจากเมรุไปนั่ง ณ ที่กำหนด
๓. ขณะที่ประธานพิธีเดินขึ้นเมรุเพื่อทอดผ้าบังสุกุล ให้ผู้เชิญเพลิงเดิน
ขึ้นไปรอบนเมรุ
๔.
เมื่อประธานสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
เสร็จแล้วให้ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทานแก้ห่อหีบเพลิงพระราชทานออก
และเชิญประธานพิธีประกอบพิธีพระราช ทานเพลิงศพตามขั้นตอนการปฏิบัติ
๒.๗ การปฏิบัติของเจ้าภาพ
๑. ขณะที่เจ้าหน้าที่อัญเชิญพระราชทานมาถึงให้เข้าแถวรอรับด้านหน้าเมรุ
๒. ควรแต่งกายสุภาพ ไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ถ้าเป็นข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์
๓. ควรจัดตะเกียงหรือโคมไฟ สำหรับหล่อเลี้ยงเพลิงพระราชทานไปในวาระสุดท้ายพิธี คือ เผาจริง
๔. ถ้าเจ้าภาพประสงค์จะอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์ และคำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ให้อ่านตามลำดับนี้ หากไม่ประสงค์จะอ่านก็ได้
๕. ข้อปฏิบัติในการอ่านของเจ้าภาพ คือ หันไปทำความเคารพศพแล้วหันมาทำความเคารพประธานพิธี ขณะอ่านให้หันหน้าไปทางประธานพิธี เมื่ออ่านจบแล้วทำความเคารพประธานพิธี หันไปทำความเคารพศพ แล้วเดินกลับที่เดิม
๖. ถ้าเป็นศพที่จัดกองเกียรติยศ ให้เจ้าภาพจัดทำกระทงกรวยขมาศพ
๑ ชุด เพื่อเชิญประธานประกอบพิธีขมาศพ ตามขั้นตอนพิธี
๗. ในกรณีการวางเพลิงพระราชทานได้ฐานกลางที่ตั้งศพไม่สะดวกให้เจ้า ภาพจัดพานประดับดอกไม้ ๑ พาน สำหรับรองรับการจุดเพลิงพระราชทานของประธานพิธี
๒.๗ การปฏิบัติของเจ้าภาพ
๑. ขณะที่เจ้าหน้าที่อัญเชิญพระราชทานมาถึงให้เข้าแถวรอรับด้านหน้าเมรุ
๒. ควรแต่งกายสุภาพ ไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ถ้าเป็นข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์
๓. ควรจัดตะเกียงหรือโคมไฟ สำหรับหล่อเลี้ยงเพลิงพระราชทานไปในวาระสุดท้ายพิธี คือ เผาจริง
๔. ถ้าเจ้าภาพประสงค์จะอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์ และคำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ให้อ่านตามลำดับนี้ หากไม่ประสงค์จะอ่านก็ได้
๕. ข้อปฏิบัติในการอ่านของเจ้าภาพ คือ หันไปทำความเคารพศพแล้วหันมาทำความเคารพประธานพิธี ขณะอ่านให้หันหน้าไปทางประธานพิธี เมื่ออ่านจบแล้วทำความเคารพประธานพิธี หันไปทำความเคารพศพ แล้วเดินกลับที่เดิม
๖. ถ้าเป็นศพที่จัดกองเกียรติยศ ให้เจ้าภาพจัดทำกระทงกรวยขมาศพ
๑ ชุด เพื่อเชิญประธานประกอบพิธีขมาศพ ตามขั้นตอนพิธี
๗. ในกรณีการวางเพลิงพระราชทานได้ฐานกลางที่ตั้งศพไม่สะดวกให้เจ้า ภาพจัดพานประดับดอกไม้ ๑ พาน สำหรับรองรับการจุดเพลิงพระราชทานของประธานพิธี
๒.๘ การปฏิบัติของประชาชนผู้ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ
๑.
ควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม หากเป็นข้าราชการจะแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ได้ จะเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ และนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติด้วย๒. ขณะที่ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปสู่เมรุ ผู้ร่วมพิธีไม่ต้องลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพ เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนพิธีการ
๓. ขณะที่ประธานพิธีจุดเพลิงหลวงประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพให้ผู้ร่วมพิธีทุกคนยืนตรงแสดงความเคารพ
เวลา ............ น.
พิธีแสดงพระธรรมเทศนา และสวดมาติกาบังสุกุล
(ถ้ามี)
เวลา.............. น. พิธีทอดผ้าบังสุกุลบนเมรุก่อนเวลาพระราชทานเพลิงศพ
บทพิธีกร : เชิญทอดผ้าบังสุกุล ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ / คณะเจ้าภาพขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน / ที่เดินทางมาร่วมเป็นเกียรติในพิธีพระราชทานเพลิงศพของ ...................( ชื่อผู้วายชนม์) .................. และรู้สึกเป็นเกียรติที่จะเรียนเชิญท่านที่มีรายนามดังต่อไปนี้ / จำนวน ...........ท่าน ขึ้นทอดผ้าบังสุกุล (ขออนุญาตประสานอ่านรายนามท่านก่อนเริ่มพิธี)
๑..........(
ชื่อ / สกุล )
................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๑.. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด ..............................................................................................................
๒..........( ชื่อ / สกุล )
................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๒. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด
...............................................................................................................
๓..........( ชื่อ / สกุล )
................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๓.. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด
..............................................................................................................
๔..........( ชื่อ / สกุล )
................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๔.. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด
..............................................................................................................
๕..........( ชื่อ / สกุล )
................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๕.. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด
..............................................................................................................
๖..........( ชื่อ / สกุล )
................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๖.. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด
..............................................................................................................
๗..........( ชื่อ / สกุล ) ................................................................................ตำแหน่ง
.................................................................................................................................. ๗.. กราบนิมนต์
...............................................( พระ / ฉายา )
........................................วัด
..............................................................................................................
หมายเหตุ ...การทอดผ้าบังสุกุลปฏิบัติให้แล้วเสร็จก่อนประธาน
ฯ เดินทางมาถึงบริเวณพิธี
เวลา ................น. ประธานพิธีเดินทางมาถึง
- เจ้าหน้าที่อัญเชิญเพลิงพระราชทานขึ้นสู่เมรุ
- ประดิษฐานเพลิงพระราชทาน ณ
สถานที่จัดเตรียมไว้
- เจ้าหน้าที่ ทำความเคารพศพ ๑ ครั้ง เดินลงจากเมรุ
- เจ้าหน้าที่ ทำความเคารพศพ ๑ ครั้ง เดินลงจากเมรุ
-กองทหารเกียรติยศเข้าประจำที่ (ถ้ามี)
-พิธีกรเชิญผู้แทนเจ้าภาพ ๑. อ่านหมายรับสั่ง (ถ้ามี) ๒. อ่านประวัติผู้วายชนม์ ๓.อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
บทพิธีกร : เชิญอ่านหมายรับสั่ง (ถ้ามี)
เรียนท่านประธาน ฯ และผู้ร่วมพิธีที่เคารพ / หีบเพลิงพระราชทานที่เจ้าหน้าที่อัญเชิญประดิษฐานไว้บนเมรุแล้วนั้น / พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / ทรงพระราชทานสำหรับงาพระราชทานเพลิงศพของ .................(ชื่อ/สกุลผู้วายชนม์)..... / นับเป็นสรรพสิริมงคลสูงสุดที่ผู้วายชนม์ได้รับ / คณะเจ้าภาพรู้สึกเป็นเกียรติที่จะเรียนเชิญคุณ ..................(ชื่อ/สกุล) .........................ป็นผู้อ่านหมายรับสั่ง ขอเรียนเชิญครับ
บทพิธีกร : นำเรียนประวัติผู้วายชนม์
เรียน ท่านประธานในพิธี ฯ ที่เคารพ
กระผม / ดิฉัน ..................................................................... ....ได้รับเกียรติจากท่านเจ้าภาพ / ให้เป็นผู้นำเรียนประวัติและคำไว้อาลัย ต่อท่านประธาน ฯ และผู้ร่วมพิธีทุกท่าน / เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและรำลึกถึงท่านเป็นวาระสุดท้าย
การเกิด
(ผู้วายชนม์)..................เกิดเมื่อวันที่...........เดือน.......................พ.ศ........................
ณ บ้านเลขที่.................หมู่ที่.................ตำบล........................อำเภอ.....................
จังหวัด....................................เป็นบุตรคนที่..............ในจำนวนบุตรธิดา..............คน
ณ บ้านเลขที่.................หมู่ที่.................ตำบล........................อำเภอ.....................
จังหวัด....................................เป็นบุตรคนที่..............ในจำนวนบุตรธิดา..............คน
การศึกษา
- สำเร็จการศึกษาจาก.......................................เมื่อ พ.ศ.......................
- สำเร็จการศึกษาจาก.......................................เมื่อ พ.ศ.......................
-
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน...........................เมื่อ พ.ศ......................
- สำเร็จหลักสูตร.........................จาก...............เมื่อ พ.ศ.......................
- สำเร็จหลักสูตร.........................จาก...............เมื่อ พ.ศ.......................
รับราชการ
-บรรจุเข้ารับราชการ เป็น.............. เมื่อ พ.ศ.................................
-เป็น.................................... เมื่อ พ.ศ.................................
-เป็น................................... เมื่อ พ.ศ.................................
-รับพระราช...................... เมื่อ พ.ศ.................................
สถานภาพครอบครัว
.
..............................................ได้สมรสกับ..................................................
สกุล ..............................................................มีบุตรธิดาจำนวน.........คน คือ
๑. ........................................................................................
๒. ........................................................................................
๓. .........................................................................................
..............................................ได้สมรสกับ..................................................
สกุล ..............................................................มีบุตรธิดาจำนวน.........คน คือ
๑. ........................................................................................
๒. ........................................................................................
๓. .........................................................................................
๔............................................................................................
๕............................................................................................
คำสดุดี
(ผู้วายชนม์)…………..ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น
ได้ปฏิบัติราชการด้วยความเข้มแข็ง
ขยัน อดทน มีความสามารถ
และซื่อสัตย์สุจริต
เป็นที่ไว้วางใจของผู้บังคับบัญชา เป็นที่เคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา
และเป็นรักของเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเป็นผู้เอาใจใส่ดูแลและเลี้ยงดูบิดามารดา
ภรรยาและบุตรด้วยความรักและความห่วงใย
ตลอดถึงเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
กอปรกับกิริยาอัธยาศัยของผู้วายชนม์เป็นผู้มีความอ่อนโยนและมีความร่าเริงอยู่เสมอ
เป็นที่เมตตาของผู้บังคับบัญชาและเป็นที่รักใคร่นับถือของญาติโดยทั่วหน้า
ในวาระสุดท้าย..(ผู้วายชนม์) ...ได้ล้มป่วยลงญาติได้นำเข้าพักรักษาตัว ณ
................................โดยอยู่ในความดูแลของคณะแพทย์และญาติอย่างใกล้ชิด
/ แต่ท่านก็ไม่อาจฝืนกฎแห่งธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้ /
...(..ผู้วายชนม์) ......เสียชีวิตด้วยอาการอันสงบ
เมื่อวันที่.....เดือน........พ.ศ..........เวลา.......นาฬิกา รวมสิริอายุขัยได้.........ปี
บทปลง
อันความตายนั้น
เป็นสภาพที่ทุกคนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
สรรพสัตว์ที่เกิดมาบนผืนปฐพีนี้ จำต้องมีการพลัดพรากจากโลกนี้
เพื่อไปสู่สัมปรายภพในเบื้องหน้าบัณฑิตท่านอุปมาชีวิตไว้ว่า หยาดน้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้า
เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมา ย่อมเหือดแห้งหายไปได้โดยเร็ว ไม่ตั้งอยู่ได้นานฉันใด ชีวิตของมนุษย์ก็เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้างฉันนั้น
ชีวิตของมนุษย์นั้นสั้นนิดเดียว
แต่ว่ามีทุกข์มาก ดังนั้น บุคคลที่กระทำคุณงามความดีไว้ เมื่อยู่ในโลกนี้ ย่อมบันเทิงใจ และเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว
ก็ย่อมบันเทิงใจ ได้ชื่อว่า ย่อมบันเทิงใจในโลกทั้งสอง เพราะได้เห็นการกระทำอันบริสุทธิ์ของตนแล้ว
.........(ผู้วายชนม์)...เมื่อยังมีชีวิตอยู่
ได้สร้างคุณงามความดีไว้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและศาสนา โดยสมควรแก่อัตภาพ
ท่านจึงเป็นที่รักและเคารพยิ่งของบุตรหลานและญาติมิตร สมด้วยลิขิตคำกลอนที่ว่า
ท่านทำงาน อย่างซื่อตรง ไม่แชเชือน
ท่านเป็นเหมือน ตราชู คู่ความดี
ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ท่านเจ้าภาพได้บำเพ็ญมา
ด้วยความตั้งใจที่จะอุทิศกัลปนาผลทักษิณานุประทาน
จงดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ได้รับทราบเป็นปตตานุโมทนามัย เพื่อสำเร็จหิตานุหิตประโยชน์
โดยสมควรแก่คติในสัมปรายภพ นั้นเทอญ (
เชิญผู้ร่วมพิธียืนไว้อาลัยประมาณ ๑ นาที )
หมายเหตุ
หากมีการจัดกองเกียรติยศหลังอ่านประวัติจบไม่ต้องเชิญยืนไว้อาลัยเพราะผู้ร่วมพิธีจะยืนไว้อาลัยในขั้นตอนของพลแตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน
บทพิธีกร : อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ / การได้รับหีบเพลิงพระราชทานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ / นับเป็นเกียรติสูงสุดของผู้วายชนม์ อย่างหาที่สุดมิได้/ เป็นเกียรติประวัติต่อวงศ์ตระกูล / เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / คณะเจ้าภาพรู้สึกเป็นเกียรติที่จะเรียนเชิญคุณ.....(ชื่อ/สกุล) ...............เป็นผู้อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ( ....ขอเรียนเชิญครับ )
- พิธีกรเชิญประธานพิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล
- นิมนต์ประธานสงฆ์พิจารณาผ้าไตรบังสุกุล
-ประธาน
ฯ วงกระทงข้าวตอกกระทงดอกไม้
(ถ้าเป็นกระทง ฯ ที่เจ้าภาพทำขึ้นเอง ประธาน ฯ
ไม่ต้องถวายคำนับไปยังทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ก่อนวางกระทงข้าวตอกกระทงดอกไม้)
-พลแตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน
๑ จบ ( ผู้ร่วมพิธียืนไว้อาลัย ) (ถ้ามี)
-เจ้าหน้าที่ผู้อัญเชิญหีบเพลิง ฯ เข้าประจำ ที่
- ประธาน ฯ หันหน้าไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับแล้วถวายคำนับ
๑ ครั้ง แล้วปฏิบัติดังนี้
๑.หยิบเทียนชนวนในหีบเพลิง ฯ มอบให้ผู้เชิญเพลิงถือไว้
๒.หยิบกลักไม้ขีดในกล่องหีบเพลิงจุดไฟต่อเทียนชนวนที่ผู้เชิญหีบเพลิงถือไว้
๑.หยิบเทียนชนวนในหีบเพลิง ฯ มอบให้ผู้เชิญเพลิงถือไว้
๒.หยิบกลักไม้ขีดในกล่องหีบเพลิงจุดไฟต่อเทียนชนวนที่ผู้เชิญหีบเพลิงถือไว้
๓.ถวายบังคม (ไหว้) ๑ ครั้ง ก่อนหยิบธูป
ดอกไม้จันทน์ และเทียนพระราชทาน ๑ ชุด ในหีบเพลิงพระราชทาน
จุดไฟจากเทียนชนวนแล้ววางไว้ใต้ฐานที่ตั้งศพหรือบนพาน
-ผบ.กองทหารเกียรติยศสั่งทำความเคารพ (วันทยาวุธ) / สั่งพัก
(เรียบอาวุธ) แล้วนำกองทหาร เกียรติยศออกนอกพี้นที่
(ถ้ามี)
-ประธาน ฯ ทำความเคารพศพ ๑ ครั้ง แล้วเดินลงจากเมรุ
-เจ้าหน้าที่พับธงชาติเข้าประจำที่บนเมรุเพื่อพับธงชาติ (ถ้ามี)
-เจ้าหน้าที่พับธงมอบธงให้ประธาน ฯ เพื่อมอบให้ทายาทผู้วายชนม์ (ถ้ามี)
-นายทหารติดตามประธาน ฯ
ร่วมในพิธีมอบธงชาติโดยยืนเข้าแถวด้านหลังประธาน ฯ (ถ้ามี)
- นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นวางดอกไม้จันทน์ปลงธรรมสังเวช
และเชิญผู้ร่วมพิธีวางดอกไม้จันทน์ตามลำดับ
-พิธีกรกล่าวขอบคุณประธาน ฯ และผู้ร่วมพิธี
-เสร็จพิธี
ลำดับพิธีพระราชทานเพลิงศพ
วันที่ ........เดือน
................พ.ศ............... ณ
เมรุวัด ..............................
เวลา ...............น –ผู้ร่วมพิธีพร้อม
เวลา
...............น –พิธีทอดผ้าบังสุกุลและผ้าไตรบังสุกุล เวลา ...............น – ประธาน ฯ
เดินทางมาถึงสถานที่ประกอบพิธี เวลา ...............น –
เจ้าภาพตั้งแถวรับหีบเพลิงพระราชทาน เวลา ...............น –
ขบวนอัญเชิญหีบเพลิงพระราชทานถึงบริเวณพิธี เวลา ...............น – เจ้าหน้าที่อัญเชิญหีบเพลิงพระราชทานขึ้นประดิษฐานบนเมรุ
-กองทหารเกียรติยศเข้าประจำที่หน้าเมรุ
-อ่านหมายรับสั่ง / อ่านประวัติ ฯ / อ่านสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
-ประธาน ฯ ทอดผ้าไตรบังสุกุล
-พระสงฆ์พิจารณาผ้าไตรบังสุกุล
-ประธาน ฯ วางกระทงข้าวตอก กระทงดอกไม้ ( กรวยดอกไม้สด)
-ผบ.กองทหารเกียรติยศสั่งแถวตรง (ถ้ามี)
-พลแตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน ๑ จบ (ผู้ร่วมพิธียืนไว้อาลัย) (ถ้ามี)
-เจ้าหน้าที่อัญเชิญหีบเพลิง ฯ
ประจำโต๊ะวางหีบเพลิง
-ประธาน ฯ หันหน้าไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับและ ถวายความเคารพ ๑ ครั้ง / เปิดกล่องหีบเพลิง ฯ
แล้วปฏิบัติดังนี้
o หยิบเทียนชนวนในหีบเพลิง มอบให้ผู้อัญเชิญหีบเพลิง ฯ ถือไว้
o หยิบกลักไม้ขีดในกล่องหีบเพลิง ฯ
จุดไฟต่อที่เทียนชนวนที่เจ้าหน้าที่ถือไว้
o ประธาน ฯ (ยกมือไหว้ ๑ ครั้ง) แล้วหยิบดอกไม้จันทน์จุดไฟหลวงจากเทียนชนวนแล้ววางใต้ฐานที่ตั้งศพ
หรือวางบนพานที่เตรียมไว้
-ผบ.กองทหารเกียรติยศสั่งทำความเคารพวันทยาวุธ (ถ้ามี)
-พลแตรเดี่ยวเป่าเพลงคำนับ ๑ จบ (ถ้ามี)
-ผบ.กองทหารเกียรติยศสั่งเรียบอาวุธ
-ผบ.กองทหารเกียรติยศนำกองเกียรติออกนอกพื้นที่
-ประธาน ฯ เคารพศพ ๑ ครั้ง และหันหน้าไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับ
ถวายคำนับ ๑ ครั้งแล้วลงจากเมรุ
-เจ้าหน้าที่พับธงชาติขึ้นประจำที่บนเมรุเพื่อพับธงชาติ (ถ้ามี)
-เจ้าหน้าที่พับธงชาติมอบกล่องบรรจุธงชาติให้ประธาน ฯ
-พิธีกรกล่าวขอบคุณประธาน ฯ
และผู้ร่วมพิธี
-เสร็จพิธี
- จัดเจ้าหน้าที่อัญเชิญหีบเพลิงพระราชทาน
ถ้าเป็นข้าราชการทหาร ตำรวจ (ชั้นสัญญาบัตร) แต่ง กายด้วยชุดขาว คาดกระบี่ ถุงมือ
และหมวก
- เตรียมรถสำหรับเจ้าหน้าที่เชิญหีบเพลิง
ฯ และรถนำ
- เตรียมคนอ่าน
๑.หมายรับสั่ง ๒.ประวัติ ๓.สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
- จัดเตรียมสถานที่
โต๊ะเก้าอี้สำหรับประธาน ฯ และคณะติดตาม เก้าอี้สำหรับผู้ร่วมพิธี , ความ สะอาดบนเมรุ
,การประดับดอกไม้
- จัดโต๊ะรองรับหีบเพลิงพระราชทานโดยจัดไว้ทางด้านเหนือศีรษะของศพ
และห้ามมิให้มีสิ่งใดวาง ร่วมในที่เดียวกันกับหีบเพลิง ฯ
- จัดเตรียมกระทงข้าวตอก
กระทงดอกไม้สด (เครื่องขมาศพ)
-
จัดเตรียมคนเชิญผ้าบังสุกุล
และผ้าไตรบังสุกุล
-
เตรียมเจ้าหน้าที่ถือตาลปัตร
(ประจำอยู่บนเมรุ)
-
จัดกองทหารเกียรติยศ
และพลแตรเดี่ยว (ถ้ามี)
-
จัดเจ้าหน้าที่พับธงชาติ
(ถ้ามี)
-
จัดคนประจำจุดส่งดอกไม้จันทน์
และแจกของชำร่วย
ลำดับการวางพวงมาลาพระราชทาน
แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางพวงมาลาพระราชทาน
เกร็ดพิธี
๑. ถ้าได้รับพระราชทานกระทงข้าวตอก
ดอกไม้ขมาศพ มาพร้อมเพลิงพระราชทาน
- ประธานพิธี
ถวายความเคารพไปยังทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับ
๑ ครั้งก่อน จึงหยิบกระทงข้าวตอกดอกไม้วางขมาศพ
๒. ถ้าไม่ได้รับพระราชทานกระทงข้าวตอกดอกไม้ขมาศพ ในพิธีศพทหารให้เจ้าภาพ จัดกระทงกรวยขมาศพ (กระทงกรวยมีฝาครอบ) ๑ ชุด ในขณะที่ประธานเปิด กรวย
๑ ครั้งก่อน จึงหยิบกระทงข้าวตอกดอกไม้วางขมาศพ
๒. ถ้าไม่ได้รับพระราชทานกระทงข้าวตอกดอกไม้ขมาศพ ในพิธีศพทหารให้เจ้าภาพ จัดกระทงกรวยขมาศพ (กระทงกรวยมีฝาครอบ) ๑ ชุด ในขณะที่ประธานเปิด กรวย
ขมาศพ ที่เจ้าภาพจัดทำเอง ไม่ต้องถวายความเคารพก่อน
แต่ให้ถวายความเคารพ
ในขั้นตอนที่หยิบเทียนชนวนในหีบเพลิง
๓. กระทงกรวยขมาศพ ที่เจ้าภาพจัดทำเอง ไม่ควรถือเข้าร่วมขบวนอัญเชิญ
หีบเพลิงพระราชทาน เพราะดูไม่เหมาะสม
๓. กระทงกรวยขมาศพ ที่เจ้าภาพจัดทำเอง ไม่ควรถือเข้าร่วมขบวนอัญเชิญ
หีบเพลิงพระราชทาน เพราะดูไม่เหมาะสม
๔. การอ่านในพิธีศพทหาร กอศจ.ยศ.ทบ.
กำหนดให้อ่านตามลำดับ คือ อ่านหมาย
ระเบียบปฏิบัติการไปงานศพ
๑. งานรดน้ำศพ
-แต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น พร้อมเตรียมภาชนะใส่น้ำอบไทยไปด้วย
-
วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการอาบ (รด) น้ำศพ มีดังนี้.-
ก. ศพคฤหัสถ์
๑. ศพที่มีอาวุโสสูงกว่าตน พึงนั่งคุกเช่าน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับนึกขอขมาต่อศพนั้นว่า “กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ”
ก. ศพคฤหัสถ์
๑. ศพที่มีอาวุโสสูงกว่าตน พึงนั่งคุกเช่าน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับนึกขอขมาต่อศพนั้นว่า “กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ”
๒. ถือภาชนะสำหรับอาบ
(รด) น้ำศพด้วยมือทั้งสองเทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพ พร้อมกับนึกในใจว่า “อิทัง
มะตะกะสะรีรัง อาสิญจิโตทะกัง วิยะ อะโหสิกัมมัง”
๓. อาบ (รด) น้ำศพเสร็จแล้ว น้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับนึกอธิษฐานว่า
“ขอจงไปสู่สุคติ ๆ เถิด”
ข. ศพพระสงฆ์
๑. สุภาพบุรุษนั่งคุกเข่า ตั้งปลายเท้าลงจรดพื้น สุภาพสตรีนั่งคุกเข่าราบไปกับพื้น กราบ ๓ ครั้ง พร้อมกับนึกขอขมาโทษดังกล่าวในศพคฤหัสถ์
๒. ถือภาชนะสำหรับอาบ (รด) น้ำด้วยมือทั้งสอง เทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพ
พร้อมกับนึกในใจดังกล่าวแล้วในศพคฤหัสถ์
๓. กราบ ๓ ครั้ง พร้อมกับนึกอธิษฐานดังกล่าวแล้วในศพคฤหัสถ์
๒. งานตั้งศพบำเพ็ญกุศล
- แต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น
- นำพวงหรีดหรือพวงดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งไปแสดงความเคารพศพด้วย
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงความเคารพ มีดังนี้.-
ก. ศพคฤหัสถ์
๑. ถ้านำพวงหรีดไปด้วย วางพวงหรีดข้างหน้าที่ตั้งศพ แล้วแสดงความเคารพ
เป็นเสร็จพิธี
๒. ถ้าน้ำกระเช้าดอกไม้ แจกันดอกไม้ หรือพวงดอกไม้ไปเคารพศพ เมื่อวางกระเช้าดอกไม้เป็นต้นไว้ข้างหน้าที่ตั้งศพแล้ว
- นั่งคุกเข่าราบทั้งเพศชายและเพศหญิง
- จุดธูป ๑ ดอก ประนมมือยกธูปขึ้นจบ ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว ตั้งจิตขอขมาดังกล่าว
- ปักธูปไว้แล้ว หมอบกราบด้วยกระพุ่มมือ (นั่งพับเพียบตะแคงตัวข้างใดข้างหนึ่ง หันหน้าไปทางศพ หากนั่งพับเพียบตะแคงตัวไปทางขวา ให้วางมือขวาลงก่อน แล้ววางมือซ้ายลงแนบกับมือขวาประนมมือตั้งอยู่กับพื้นพร้อมกับหมอบให้หน้าฝากจรดสันมือ หากนั่งพับเพียบตะแคงตัวไปทางซ้าย ให้วางมือซ้ายลงก่อน แล้ววางมือขวาลงแนบกับมือซ้ายประนมมือตั้งอยู่กับพื้น พร้อมกับหมอบให้หน้าฝากจรดสันมือ) พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าวแล้วลุกขึ้น เป็นเสร็จพิธี ฯ
๓. อาบ (รด) น้ำศพเสร็จแล้ว น้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับนึกอธิษฐานว่า
“ขอจงไปสู่สุคติ ๆ เถิด”
ข. ศพพระสงฆ์
๑. สุภาพบุรุษนั่งคุกเข่า ตั้งปลายเท้าลงจรดพื้น สุภาพสตรีนั่งคุกเข่าราบไปกับพื้น กราบ ๓ ครั้ง พร้อมกับนึกขอขมาโทษดังกล่าวในศพคฤหัสถ์
๒. ถือภาชนะสำหรับอาบ (รด) น้ำด้วยมือทั้งสอง เทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพ
พร้อมกับนึกในใจดังกล่าวแล้วในศพคฤหัสถ์
๓. กราบ ๓ ครั้ง พร้อมกับนึกอธิษฐานดังกล่าวแล้วในศพคฤหัสถ์
๒. งานตั้งศพบำเพ็ญกุศล
- แต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่น
- นำพวงหรีดหรือพวงดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งไปแสดงความเคารพศพด้วย
- วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงความเคารพ มีดังนี้.-
ก. ศพคฤหัสถ์
๑. ถ้านำพวงหรีดไปด้วย วางพวงหรีดข้างหน้าที่ตั้งศพ แล้วแสดงความเคารพ
เป็นเสร็จพิธี
๒. ถ้าน้ำกระเช้าดอกไม้ แจกันดอกไม้ หรือพวงดอกไม้ไปเคารพศพ เมื่อวางกระเช้าดอกไม้เป็นต้นไว้ข้างหน้าที่ตั้งศพแล้ว
- นั่งคุกเข่าราบทั้งเพศชายและเพศหญิง
- จุดธูป ๑ ดอก ประนมมือยกธูปขึ้นจบ ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้ว ตั้งจิตขอขมาดังกล่าว
- ปักธูปไว้แล้ว หมอบกราบด้วยกระพุ่มมือ (นั่งพับเพียบตะแคงตัวข้างใดข้างหนึ่ง หันหน้าไปทางศพ หากนั่งพับเพียบตะแคงตัวไปทางขวา ให้วางมือขวาลงก่อน แล้ววางมือซ้ายลงแนบกับมือขวาประนมมือตั้งอยู่กับพื้นพร้อมกับหมอบให้หน้าฝากจรดสันมือ หากนั่งพับเพียบตะแคงตัวไปทางซ้าย ให้วางมือซ้ายลงก่อน แล้ววางมือขวาลงแนบกับมือซ้ายประนมมือตั้งอยู่กับพื้น พร้อมกับหมอบให้หน้าฝากจรดสันมือ) พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าวแล้วลุกขึ้น เป็นเสร็จพิธี ฯ
ข. ศพพระสงฆ์
๑. วางเครื่องสักการะที่หน้าเครื่องตั้งศพแล้ว
๒. นั่งคุกเข่าตามเพศ จุดธูป ๑ ดอก ประนมมือยกธูปขึ้นจบให้ปลายนิ้วหัวแม่มืออยู่ ระหว่างคิ้ว พร้อมกับตั้งจิตขอขมาดังกล่าว
๓. ปักธูปแล้ว กราบ ๓ ครั้ง พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าวแล้วลุกขึ้น (หรือกราบ เพียง ๓ ครั้ง พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าว โดยมิต้องจุดธูปก็ได้)
๔. งานเผาศพ
- แต่งกายไว้ทุกข์
๑. วางเครื่องสักการะที่หน้าเครื่องตั้งศพแล้ว
๒. นั่งคุกเข่าตามเพศ จุดธูป ๑ ดอก ประนมมือยกธูปขึ้นจบให้ปลายนิ้วหัวแม่มืออยู่ ระหว่างคิ้ว พร้อมกับตั้งจิตขอขมาดังกล่าว
๓. ปักธูปแล้ว กราบ ๓ ครั้ง พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าวแล้วลุกขึ้น (หรือกราบ เพียง ๓ ครั้ง พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานดังกล่าว โดยมิต้องจุดธูปก็ได้)
๔. งานเผาศพ
- แต่งกายไว้ทุกข์
-
เตรียมเครื่องขอขมาศพ คือ ธูปไม้ระกำ เทียน และดอกไม้จันทน์ไปด้วย
- ลำดับการขึ้นเมรุเผาศพมีดังนี้.
ก. ถ้าเป็นงานพระราชทานเพลิงศพ ขึ้นบนเมรุเผาศพตามลำดับอาวุโส ทางคุณวุฒิ
ข. ถ้าเป็นงานฌาปนกิจศพ ขึ้นตามลำดับวัยวุฒิ
- ลำดับการขึ้นเมรุเผาศพมีดังนี้.
ก. ถ้าเป็นงานพระราชทานเพลิงศพ ขึ้นบนเมรุเผาศพตามลำดับอาวุโส ทางคุณวุฒิ
ข. ถ้าเป็นงานฌาปนกิจศพ ขึ้นตามลำดับวัยวุฒิ
-
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเผา
๑. ยืนห่างจากศพประมาณ ๑ ก้าว
๒. น้อมตัวลงวางธูป เทียน และดอกไม้จันทน์ที่เชิงตะกอนพร้อมกับ พิจารณาตนเองถึงความตายอันจะมาถึงตนเช่นกันว่า “อะยัมปิโข เม กาโย เอวังธัมโม เอวังภาวี เอวังะนะตีโต”
๓. ทำความเคารพศพอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับนึกอธิษฐานในใจ “ขอจงไปสู่สุ คติๆ เถิด”
๑. ยืนห่างจากศพประมาณ ๑ ก้าว
๒. น้อมตัวลงวางธูป เทียน และดอกไม้จันทน์ที่เชิงตะกอนพร้อมกับ พิจารณาตนเองถึงความตายอันจะมาถึงตนเช่นกันว่า “อะยัมปิโข เม กาโย เอวังธัมโม เอวังภาวี เอวังะนะตีโต”
๓. ทำความเคารพศพอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับนึกอธิษฐานในใจ “ขอจงไปสู่สุ คติๆ เถิด”
พันตรี ภูวดล คำบุดดา
อศจ.กอ.รมน.ภาค ๔ สน.
กันยายน
๕๗